บทสัมภาษณ์ บริษัทฟาร์อีสต์ กับประสบการณ์ 3 ปี การนำเข้าผลไม้ไทยมาส่านซี

บทสัมภาษณ์ บริษัทฟาร์อีสต์ กับประสบการณ์ 3 ปี การนำเข้าผลไม้ไทยมาส่านซี

วันที่นำเข้าข้อมูล 22 ก.ย. 2558

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 25 ส.ค. 2564

| 1,290 view

เขียนโดย : สุพรรษา ทองทวี ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในจีน ณ นครซีอาน

แหล่งข้อมูล : การสัมภาษณ์ และการสำรวจตลาด

 

Last Update : 16 กุมภาพันธ์ 2555
 

การส่งออกผลไม้ของประเทศไทยถือเป็นธุรกิจที่นำรายได้เข้าประเทศที่สำคัญธุรกิจหนึ่ง สำหรับประเทศจีนในปัจจุบันผลไม้ไทยกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น 

 

จากข้อมูลสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรประจำกรุงปักกิ่ง ปัจจุบันประเทศไทยมีการส่งออกสินค้าเกษตรมายังประเทศจีนมูลค่าว่า 192,706 ล้านบาท (สถิติช่วง 10 เดือนแรกของปี 2554) ในจำนวนนั้นมีการส่งออกผลไม้ไทยเป็นมูลค่า 12,007 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2553 ถึงร้อยละ 119 ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่แสดงให้เห็นถึงความต้องการของตลาดผลไม้ไทยในจีนที่มีการขยายตัวอย่างมหาศาล และรวดเร็วเป็นอย่างมาก

) ในครั้งนี้เป็นการกลับมาสัมภาษณ์อีกครั้งเพื่อติดตามความเป็นไปของธุรกิจการนำเข้าผลไม้ไทยในภาวะปัจจุบัน สำหรับมณฑลส่านซีมณฑลที่มีที่ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน ที่มีความนิยมในผลไม้รสหวาน ผลไม้ไทยจึงเป็นอีกความนิยมหนึ่ง ซึ่งเริ่มจะมีความต้องการมากขึ้นเรื่อยๆในท้องตลาด จากการสำรวจตลาดพบว่าในปัจจุบันมณฑลส่านซีมีกิจการนำเข้าผลไม้ไทยไม่มากรายนัก แต่เริ่มมีผู้นำเข้าผลไม้ไทยเพิ่มมากขึ้น และบริษัท Fareast  fruit (Shaanxi) จำกัด (陕西远东果品有限公司) ก็เป็นบริษัทหนึ่งที่มีประสบการณ์จำหน่ายผลไม้ไทยในส่านซีมากว่า 15 ปี (เริ่มก่อตั้งกิจการปี 2540)  และตั้งแต่ปี 2552 ได้มีส่วนร่วมในการนำเข้าผลไม้โดยตรงจากสวนในประเทศไทย ต้นปี 2554 ได้มีการลงทุนร่วมกับคนไทยก่อตั้งโรงงานรับซื้อและแพ็คผลไม้ส่งออกในภาคตะวันออกของประเทศไทย เมื่อสองปีก่อนหน้านี้ BIC ซีอานได้ทำการสัมภาษณ์และลงบทความเกี่ยวกับบริษัท Fareast ไปแล้วครั้งหนึ่ง (http://www.thaibizchina.com/thaibizchina/th/interesting-facts/detail.php?IBLOCK_ID=70&SECTION_ID=519&ELEMENT_ID=2248

 

รายละเอียดบริษัท

บริษัท Fareast  fruit (Shaanxi) จำกัด (陕西远东果品有限公司) เป็นบริษัทที่มีการนำเข้าผลไม้ทั้งจากประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้าน และประเทศแถบยุโรป อเมริกา มาจำหน่ายยังพื้นที่มณฑลส่านซี รวมไปถึงพื้นที่ใกล้เคียงอันได้แก่ มณฑลกานซูและเขตปกครองตนเองหนิงเซี่ย

ผลไม้ไทยที่นำเข้า

ผลไม้ไทยที่ทางบริษัท Fareast นำเข้าเป็นหลักได้แก่ ทุเรียน มังคุด ลำไย ผลไม้ชนิดอื่นๆก็มีการนำเข้ามาวางจำหน่ายเช่นกัน อาทิ มะพร้าว น้อยหน่า ชมพู่ นอกจากนี้บริษัทยังได้นำเข้าผลไม้อื่นๆ อาทิ ส้มโอเขียว(พันธ์ขาวแตงกวา) เสาวรส มะขามหวาน มะม่วงเขียวเสวย มะเฟือง ฝรั่ง และขนุนเพื่อทำการทดลองตลาดอีกด้วย

การพัฒนาตลาดผลไม้ไทยในซีอาน

บริษัท Fareast กล่าวว่าความนิยมในผลไม้ไทยเริ่มมากขึ้น โดยเห็นได้จากปริมาณผลไม้ที่นำเข้ามาเริ่มมีปริมาณที่มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในช่วงเวลาปี 2551-2552 เป็นต้นมา

เมื่อถามถึงปัจจัยที่ทำให้ผลไม้ไทยกลายเป็นที่นิยมและทำให้ออเดอร์สินค้ามีมากขึ้น ทางบริษัทกล่าวว่า ช่วงก่อนปี 2551 ผลไม้ไทยในส่านซีและพื้นที่ฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของจีนส่วนใหญ่รับมาจากตลาดผลไม้ในมณฑลกวางตุ้ง มีบริษัทที่นำมาขายไม่กี่รายจึงขายในราคาที่ค่อนข้างสูง หลังปี 2552 ผลไม้ไทยได้มีการนำมาวางจำหน่ายมากขึ้น เนื่องมาจากเริ่มมีบริษัทที่นำเข้าผลไม้ไทยเข้ามาจำหน่ายมากขึ้นทำให้ผลไม้ไทยมีราคาที่ถูกลง ผู้บริโภคชาวจีนเริ่มหันมาให้ความสนใจมากขึ้น

นอกจากนี้ ผู้บริหารบริษัท Fareast กล่าวถึงผลดีหลังจากการเปิดเขตการค้าเสรีจีน – อาเซียน ที่ทำให้การนำเข้าและส่งออกเป็นไปอย่างราบรื่นมากขึ้นแม้การลดภาษีการนำเข้าผลไม้ไทยจะช่วยลดต้นทุนได้ไม่มาก แต่ก็ถือเป็นส่วนช่วยที่สำคัญสำหรับด้านการดำเนินการได้เป็นอย่างดีทางหนึ่ง

กระบวนการจัดหาสินค้าและกระจายสินค้า

ช่วงก่อนปี 2552  บริษัท Fareast ใช้วิธีการซื้อผลไม้ไทยโดยผ่านตลาดเจียงหนาน กวางโจวซึ่งประสบปัญหาคือการที่ไม่สามารถควบคุมคุณภาพของสินค้าได้ตามความต้องการ รวมไปถึงค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าธรรมเนียมตลาดกลางค่อนข้างมาก ส่งผลให้ต้นทุนของผลไม้เพิ่มตามไปด้วย ต่อมาปี 2552 บริษัท Fareast ได้เริ่มติดต่อและรับซื้อผลไม้จากโรงงานในประเทศไทยด้วยตนเอง โดยผ่านตัวแทนนำเข้าสินค้าระหว่างประเทศทางเรือในกวางโจว เฉินเจิน และทางบกผ่านทางด่านในคุนหมิง และหนานหนิง การนำเข้าผลไม้โดยการส่งซื้อจากบริษัทในประเทศไทยทำให้ช่วยลดปัญหาด้านต้นทุน จากค่าธรรมเนียมของตลาดกลางได้ แต่ก็ยังคงประสบปัญหาด้านคุณภาพสินค้าอยู่ ทำให้บริษัท Fareast ตัดสินใจที่เข้าไปร่วมหุ้นกับคนไทยเปิดโรงงานคัดเลือกและแพ็คกิ้งผลไม้ส่งออกด้วยตนเองเมื่อช่วงเดือนมีนาคม ปี 2554 โดยได้มีการไปจัดตั้งโรงงานและโกดังเก็บรักษาผลไม้ ทางภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยได้สร้างโกดังเพื่อรับซื้อผลไม้จากเกษตรกรไทยเองซึ่งสามารถทำให้บริษัท Fareast สามารถต่อรองราคาผลไม้ได้โดยตรงกับทางสวนผลไม้ และสามารถาคัดเลือกควบคุมคุณภาพของผลไม้ตั้งแต่ขั้นตอนการเก็บเกี่ยว แพ็คกิ้งและการเก็บรักษาก่อนการส่งออกได้ด้วยตนเอง ส่งผลดีต่อบริษัททั้งด้านต้นทุนและคุณภาพสินค้า และในปี 2555 นี้ทางบริษัทได้วางเงินลงทุนอีก 50 ล้านบาทเพื่อก่อตั้งโรงงานผลิตลังพลาสติกที่เป็นวัตถุดิบในการแพ็คกิ้งผลไม้ส่งออก สำหรับรองรับปริมาณการส่งออกผลไม้ไทยที่มีมากขึ้น ของทางบริษัทเอง

 

เส้นทางการขนส่งผลไม้ของบริษัท

- ทางบก

ขนส่งทางบกผ่านเส้นทาง R3A และ R12

- ทางเรือ

ผ่านทาง Shekou Port ( Shenzhen) และ Hongkong Port

แผนการขยายกิจการการจำหน่ายผลไม้ไทยของบริษัท

ปัจจุบันบริษัท Fareast ได้มีการจำหน่ายสินค้าทั้งปลีกและส่ง ไปยังห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ต่างๆ นอกจากนี้ยังมีการวางจำหน่ายในตลาดค้าส่งสินค้าเกษตรขนาดใหญ่ของมณฑลส่านซี จากการสอบถามบริษัท Fareast มีโครงการร่วมกับตลาดค้าส่ง ที่จะสร้างพื้นที่ขายส่งผลไม้ไทยโดยเฉพาะ เนื่องจากพื้นที่ในส่วนเดิมเริ่มที่จะคับแคบไม่เพียงพอต่อความต้องการของปริมาณการส่งซื้อที่เพิ่มขึ้นทุกวัน โดยคาดว่าจะเริ่มดำเนินการในไม่ช้า

มุมมองสถานการณ์ตลาดผลไม้ไทยในส่านซี

- ด้านราคาเริ่มมีการแข่งขันกันมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากมีผู้นำเข้าผลไม้ไทยมาขายในตลาดส่านซีมากขึ้น การค้าส่งแม้ว่าจะได้ผลกำไรไม่มากนักแต่สำหรับผลไม้การจำหน่ายสินค้าให้ได้โดยเร็วที่สุดคือผลกำไรสูงสุด

- ผลไม้ไทยแม้ว่าจะมีคู่แข่งมากไม่ว่าจะเป็นผลไม้ท้องถิ่นในพื้นที่ หรือแม้แต่ผลไม้จากประเทศเพื่อนบ้านของไทยที่มีราคาถูกว่า แต่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังคงยอมรับในคุณภาพของผลไม้ไทยไม่ว่าจะเป็นเรื่องความสดหรือรสชาติที่หอมหวานกว่าผลไม้ของพื้นที่เขตร้อนด้วยกัน

- กระแสสินค้าออแกนิกส์ สำหรับตลาดสินค้าเกษตรในส่านซีเริ่มที่จะให้ความสำคัญมากขึ้น แต่ส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในประเภทสินค้าท้องถิ่น สำหรับการแข่งขันในตลาดผลไม้มณฑลส่านซี ส่วนใหญ่ยังคงเน้นเรื่องราคาเป็นสำคัญ ดังนั้นหากมีการโปรโมทสินค้าออแกนิกส์ น่าจะสามารถประสบความสำเร็จได้ในระยะยาวมากกว่าในอนาคตอันใกล้ 

- นอกจากนี้ยังอาจมีลู่ทางสำหรับผลไม้แปรรูป เช่น ลำไยอบแห้ง ซึ่งเริ่มมีความสนใจในส่านซีบ้างแล้ว ซึ่งในอนาคต อาจมีโอกาสสำหรับผลไม้แห้งอื่นๆ อาทิ ทุเรียนทอดกรอบ/อบกรอบ กล้วยอบกรอบ ขนุนอบกรอบ สับปะรดอบกรอบและมะขามหวานแกะเมล็ด ซึ่งขณะนี้เริ่มได้รับความนิยมในบางพื้นที่ในประเทศจีนแล้ว

 

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ