การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร

การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร

วันที่นำเข้าข้อมูล 19 ก.ย. 2562

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565

| 4,958 view

การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 105 วรรคสอง

บัญญัติให้  “ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งอยู่นอกเขตเลือกตั้งตามมาตรา 103 ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านหรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้ง เป็นเวลาน้อยกว่าเก้าสิบวันถึงวันเลือกตั้ง หรือ มีถิ่นที่อยู่นอกราชอาณาจักร ย่อมมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้ง ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไข ที่มีกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาบัญญัติ”

 

- คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต.จึงได้มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศจัดการเลือกตั้ง นอกราชอาณาจักร เนื่องจากกระทรวงฯ เป็นหน่วยงานหลักที่มีข้าราชการประจำการอยู่ในต่างประเทศ (สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่) ซึ่งมีภารกิจหน้าที่ในการดูแลและให้การคุ้มครองช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศอยู่แล้ว

- เพื่อจัดการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร กระทรวงการต่างประเทศได้จัดตั้ง “ศูนย์ประสานงานการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร”  ขึ้นภายใต้กรมการกงสุล เมื่อวันที่30  ตุลาคม 2541 เพื่อเป็นหน่วยประสานงาน ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง หน่วยงานภายในประเทศที่เกี่ยวข้องกับสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ ในเรื่องการบริหารและจัดการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร ศูนย์ประสานงานการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ได้บริหารและจัดการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรไปแล้วห้าวาระ คือ เมื่อ ปี 2543 ปี 2548 และ ปี 2549 ปรากฎผลการเลือกตั้ง  ดังนี้

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร          

ผู้ที่มีถิ่นที่อยู่นอกราชอาณาจักร เช่น ไปทำงานไปศึกษาต่อ หรือ ผู้ที่จะเดินทางไปต่างประเทศในช่วงที่ใกล้จะมีการเลือกตั้ง  และไม่สามารถกลับมาทันใช้สิทธิเลือกตั้งภายในประเทศ ถ้าประสงค์จะขอใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร  ต้องลงทะเบียนขอใช้สิทธิตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) กำหนด

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
(ตามรัฐธรรมนูญ ฉบับวันที่ 11 ตุลาคม 2540) คือ

1. เป็นผู้มีสัญชาติไทย  หรือมีสัญชาติไทยโดยการเปลี่ยนสัญชาติมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
2. เป็นผู้มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ ในวันที่ 1 มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง
3. เป็นผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วไม่น้อยกว่า 90 วัน นับถึงวันเลือกตั้ง

 

วิธีการลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร

1. ลงทะเบียนด้วยตนเอง  ที่สถานเอกอัครราชทูต / สถานกงสุลใหญ่ ที่รับผิดชอบดูแลในเขตของท่าน ดังนี้

-          กรุงปักกิ่ง
-         นครเซี่ยงไฮ้
-         นครกวางโจว
-         นครคุณหมิง
-         นครเซียะเหมิน
-         นครเฉิงตู
-         นครหนานหนิง
-         นครซีอาน
-         ฮ่องกง

2. ลงทะเบียนทางไปรษณีย์หรือทางโทรสาร
- ติดต่อขอรับแบบคำร้องขอใช้สิทธิ/ ขอเปลี่ยนแปลงสถานที่ขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรจากสถานเอกอัครราชทูต/ สถานกงสุลใหญ่ หรือ ดาวน์โหลดจากทางเว็บไซต์         

- กรอกข้อมูลในแบบคำร้องฯให้ครบถ้วน (กรุณาเขียนตัวบรรจง) พร้อมให้เบอร์ติดต่อกลับ เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้สามารถติดต่อท่านได้ เมื่อพบปัญหาในการลงทะเบียนฯ
 

- ส่งไปยังสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ ที่รับผิดชอบดูแลในเขตของท่าน (ดังตารางด้านบน) เพื่อลงทะเีบียนทางไปรษณีย์ หรือทางโทรสาร 
            พร้อมกับ ยื่น/แนบเอกสารหรือสำเนาเอกสารหลักฐาน อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
                (1)  บัตรประจำตัวประชาชน หรือ
                (2)  หนังสือเดินทาง หรือ
                (3)  บัตรประจำตัวที่มีภาพถ่ายและเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ที่ออกให้โดยทางราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรอิสระ

การใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร

 

เอกสารที่ต้องนำมาแสดง

บัตรประจำตัวประชาชน หรือ หนังสือเดินทางหรือสำเนาหนังสือเดินทาง หรือ 
บัตรประจำตัวที่มีภาพถ่ายและเลขประจำตัวประชาชนที่ออกให้โดยทางราชการ รัฐวิสาหกิจ 
หรือองค์กรอิสระ

หมายเหต

หากไม่ไปใช้สิทธิ และไม่แจ้งเหตุผลอันสมควรที่ทำให้ไม่สามารถไปใช้สิทธิได้ล่วงหน้า จะทำให้เสียสิทธิทางการเมือง ดังนี้

·         เสียสิทธิในการลงรับเลือกและยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งในตำแหน่ง ส.ส.และ ส.ว 
ผู้บริหารท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และสมาชิกสภาท้องถิ่น

  • เสียสิทธิในการเข้าชื่อร้องขอในเรื่องต่างๆ ดังนี้
    • การร้องขอให้สภาท้องถิ่นพิจารณาออกข้อบัญญัติท้องถิ่น
    • การร้องขอเพื่อให้รัฐสภาพิจารณากฎหมาย
    • การร้องขอเพื่อให้วุฒิสภามีมติถอดถอนบุคคล
    • การร้องขอให้ถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริการท้องถิ่น