วันที่นำเข้าข้อมูล 22 ก.ย. 2558
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 5 พ.ย. 2562
ภายใต้ผลกระทบวิกฤตการเงินโลก โครงการลงทุนสร้างทางรถไฟจำนวนมหาศาลของจีน เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตขึ้น เช่น ความต้องการใช้เหล็กและปูนซีเมนต์จำนวนมากในการสร้างทางและตัวรถไฟ นอกจากจะใช้เหล็กจำนวนมากแล้ว ยังต้องใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ยางพารา แก้วและอลูมิเนียมที่มีคุณภาพจำนวนมหาศาล นอกจากนี้ยังช่วยแก้ปัญหาการสร้างงาน เนื่องจากการสร้างทางรถไฟระยะทาง 1 กิโลเมตร จำเป็นต้องใช้แรงงานกว่า 300 คน (ยังไม่รวมพนักงานประจำ) ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยราว 70 ล้านหยวน ถือเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่น เพราะต้องใช้วัตถุดิบและแรงงานท้องถิ่น รวมทั้งผลประโยชน์ด้านรายได้ทางภาษี เนื่องจากการลงทุนสร้างทางรถไฟทุก 10,000 หยวน (1 หยวนประมาณ 5.20 บาท) จะลงทุนในท้องถิ่นราว 3,000 หยวน
เมื่อวันที่ 27 พ.ย. 2551 กระทรวงการรถไฟจีนได้แถลงแผนการปรับปรุงและสร้างทางรถไฟเครือข่ายระยะยาวของจีนว่า ตั้งแต่นี้จนถึงปี 2563 จีนจะสร้างทางรถไฟใหม่ความยาวราว 40,000 กิโลเมตร มูลค่าการลงทุนรวม 5 ล้านล้านหยวน โดยช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม 5 ปี ฉบับที่ 11 (ปี 2549 – 2553) จะเน้นการแก้ไขปัญหา “คอขวด” โดยปี 2552 คาดว่าการลงทุนก่อสร้างขั้นพื้นฐานประมาณ 600,000 ล้านหยวน จะใช้เหล็กราว 20 ล้านตัน ปูนซีเมนต์ 120 ล้านตัน การจ้างงานกว่า 6 ล้านตำแหน่ง และจะทำให้ GDP ของประเทศเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 และในปี 2553 จะมีการลงทุนสร้างทางรถไฟใหม่อีกราว 700,000 ล้านหยวน รวมทั้งสร้างตัวรถไฟและหัวจักร 100,000 ล้านหยวน ซึ่งเฉพาะการสร้างตัวรถไฟและหัวจักรจะก่อให้เกิดการจ้างงานอีก 800,000 ตำแหน่ง และใช้เหล็กราว 5 ล้านตัน
พัฒนาการของการรถไฟในส่านซี
การก่อเกิดรถไฟสายแรกของมณฑลส่านซี : เส้นทางรถไฟสายหลงไห่ (陇海铁路) ช่วงอำเภอถงกวน - นครซีอาน
ปี 2448 มีการเสนอให้สร้างเส้นทางรถไฟสายแรกของมณฑลส่านซี คือ เส้นทางรถไฟสายหลงไห่ (陇海铁路) ช่วงอำเภอถงกวน เมืองเว่ยหนาน – นครซีอาน ซึ่งในตอนนั้นต้องใช้เงินลงทุนกว่า 4 ล้านหยวน แต่การคลังของส่านซีมีเงินไม่เพียงพอ
ปี 2455 รัฐบาลของส่านซีได้ลงนามเซ็นสัญญาการกู้ยืมเงินจากบริษัทรถไฟเบลเยี่ยม เพื่อก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายถงกวน – ซีอาน แต่การสร้างทางต้องหยุดชะงักไป เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสงครามโลกครั้งที่ 1
ปี 2467 รัฐบาลได้กู้ยืมเงินจากบริษัทรถไฟเบลเยี่ยมอีกครั้ง โดยกู้ยืมเงินจำนวน 10 ล้านหยวนเพื่อใช้ในการก่อสร้างเส้นทางรถไฟ และอีก 75 ล้านฟรังค์-เบลเยี่ยมเพื่อซื้อวัตถุดิบจากยุโรป ระยะเวลาคืนเงินกู้ 10 ปี แต่เงินกู้ยังได้ไม่ครบ ก็เกิดสงครามกองทัพทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีนเสียก่อน โครงการจึงต้องหยุดชั่วคราว
ปี 2474 - 2478 การรถไฟแห่งชาติจีนตัดสินใจสร้างเส้นทางรถไฟสายถงกวน – ซีอานต่อ และภายในเดือนสิงหาคม 2475 เส้นทางดังกล่าวก็สร้างแล้วเสร็จ ต่อมาได้มีการซ่อมแซมและฉลองอย่างเป็นทางการในปี 2478 รวมระยะทาง 132 กิโลเมตร จำนวน 14 สถานี ซึ่งกว่าโครงการดังกล่าวจะเสร็จสิ้นต้องผ่านรัฐบาลถึง 3 สมัย รวมระยะเวลาเกือบ 30 ปี
จับตามองเป็นระยะกับอนาคต 8 ปีข้างหน้าของการรถไฟในส่านซี
ที่ประชุมแผนงานการสร้างทางรถไฟมณฑลส่านซีเมื่อต้นปี 2552 มีประเด็นที่สำคัญที่น่าจับตามอง คือ ส่านซีมีแผนในช่วง 8 ปี จากปี 2551 – 2558 จะลงทุนสร้างทางรถไฟ 260,000 ล้านหยวน รวมระยะทาง 4,500 กิโลเมตร รวมทั้งสิ้น 20 โครงการใหญ่ เช่น การสร้างเครือข่ายทางรถไฟที่เรียกว่า “ 2 เส้นตัด 5 เส้นขวาง 8 รัศมีความเร็วสูง 1 ศูนย์กลาง ” หรือเรียกสั้น ๆ ว่า “ เครือข่ายรถไฟ 2581 ” การขยายพื้นที่และการต่อเติมอาคารผู้โดยสารของสถานีรถไฟซีอานด้านทิศเหนือ หรือ “เป่ยเค่อจ้าน” และการขยายเส้นทางรถไฟเพื่อการขนส่งถ่านหินสายเปาโถว (เขตมองโกเลียใน) – ซีอาน (มณฑลส่านซี)
เครือข่ายรถไฟ 2581
2 เส้นตัด |
เมืองเป่าโถว (เขตมองโกลเลียใน) – นครซีอาน (มณฑลส่านซี) - มหานครฉงชิ่ง |
|
เมืองจงเว่ย (เขตหนิงเซี่ย) – เมืองเป่าจี (มณฑลส่านซี) – นครเฉิงตู (มณฑลเสฉวน) |
5 เส้นขวาง |
อำเภอเสินมู่ (มณฑลส่านซี) – เมืองซั่วโจว (มณฑลซานซี) |
|
นครไท่หยวน (มณฑลซานซี) – เมืองจงเว่ย (เขตหนิงเซี่ย) |
|
อำเภอหวงหลิง เมืองเอี๋ยนอาน (มณฑลส่านซี) – เมืองหานเฉิง (มณฑลส่านซี) |
|
เส้นทางหลงไห่ (มณฑลเจียงซู – มณฑลอันฮุย – มณฑลเหอหนาน – มณฑลส่านซี – มณฑลกานซู) |
|
เส้นทางหยางอานเซียงยู้ ประกอบด้วย 2 เส้นทาง คือ เส้นทางจากสถานีหยางผิงกวน (มณฑลส่านซี) – เมืองอานคัง (มณฑลส่านซี) และ เส้นทางจากเมืองเซียงฝาน (มณฑลหูเป่ย) - มหานครฉงชิ่ง |
8 รัศมี |
รถไฟความเร็วสูงสายนนครซีอาน – นครเจิ้งโจว (มณฑลเหอหนาน) |
|
รถไฟความเร็วสูงสายนครซีอาน – นครไท่หยวน (มณฑลซานซี) |
|
รถไฟความเร็วสูงสายนครซีอาน – นครเฉิงตู (มณฑลเสฉวน) |
|
รถไฟความเร็วสูงสายนครซีอาน – นครหลานโจว (มณฑลกานซู) |
|
นครซีอาน – เมืองโหวหม่า (มณฑลซานซี) |
|
นครซีอาน – เมืองเหอเฝย (มณฑลอันฮุย) |
|
นครซีอาน – เมืองผิงเหลียง (มณฑลกานซู) |
|
นครซีอาน – นครอิ๋นชวน (เขตหนิงเซี่ย) |
1 ศูนย์กลาง |
โดยมีซีอานเป็นศูนย์กลางแล้วมีเครือข่ายไปสู่ เมืองเป่าจี เมืองเสียนหยาง เมืองเว่ยหนาน เมืองเอี๋ยนเหลียง และเมืองหานเฉิง |
ในอีก 8 ปีข้างหน้า เมื่อโครงการดังกล่าวเสร็จสมบูรณ์ สถานีรถไฟซีอานเป่ยเค่อจ้านจะได้รับการขยายพื้นที่จาก 216,000 ตารางเมตร เป็น 331,000 ตารางเมตร ซึ่งจะกลายเป็นสถานีรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย โดยการรถไฟในซีอานจะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ัชัดเจน 3 ประการ คือ
รูปภาพประกอบ
Office Hours : Mon-Fri, 09.00-12.00 hrs. and 13.30-17.00 hrs.
Consular Section
VISA inquiries : +(86-29) 6125 3668 ext 801 Monday - Friday 15.00 - 17.00 hrs.
Thai citizen, please contact (+๘๖) ๑๘๒๐๒๙๒๑๒๘๑ for an appointment.