วันที่นำเข้าข้อมูล 23 ก.ย. 2558
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 5 พ.ย. 2562
เมื่อปี 2554 หนึ่งในข่าวด้านเศรษฐกิจที่สำคัญและได้รับความสนใจมากก็คือ การประกาศของรัฐบาลจีนจัดตั้งเขตพื้นที่สามเหลืยมทองคำพลังงานส่าน-กาน-หนิง-เหมิง ”(蒙陕甘宁能源金三角) ซึ่งพื้นที่ประมาณ 133,800 ตร.กม. ภายใต้มณฑลส่านซี-กานซู-หนิงเซี่ย-มองโกเลียในนี้ ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งทรัพยากรพลังงานถ่านหินและก๊าซธรรมชาติถึงร้อยละ 20-25 ของประเทศจีน ให้กลายเป็น ฐานด้านพลังงานและเคมีของประเทศจีน (โดยตั้งเป้าการดำเนินการไว้ภายในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 12 ระหว่างปี พ.ศ. 2554 – 2558)
ในปี 2556 นี้ บีไอซีซีอานได้ทำการติดตามข่าวความเคลื่อนไหวของโครงการดังกล่าว พร้อมสรุปประเด็นแนวทางการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวและประเด็นที่ท้าทายสำหรับโครงการ
ความรวดเร็ว VS. ความยั่งยืน ของการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจ
หลังการประกาศยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำฯ พบว่ามีการขยายตัวของเศรษฐกิจพื้นที่ดังกล่าวอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาอสังหาริมทรัพย์ตัวอย่างเช่น พื้นที่เมืองยวีหลิน (ขุมพลังงานของมณฑลส่านซี ศึกษาได้จากข้อมูลเพิ่มเติม) ราคาที่พักอาศัยได้เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวจากปี 2009 ก่อนการจัดตั้งพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำพลังงาน
อย่างไรก็ตาม ราคาอสังหาริมทรัพย์เป็นเพียงตัวชี้วัดหนึ่งส่วน ในขณะที่ปัจจุบัน พบว่ากิจการด้านพลังงาน (ส่วนใหญ่คือพลังงานถ่านหิน) ของจีน ก็ต้องเร่งปรับตัวเพื่อรับกับกระแสความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน สะท้อนจากสถิติการปิดจำนวนโรงงานถ่านหินในพื้นที่ของเมืองหยูหลินมณฑลส่านซี (ประมาณร้อยละ 34) อันเป็นสัญญาณของการปรับโครงสร้างของอุตสาหกรรมถ่านหินในประเทศจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรวมตัวกัน (merger & acquisition) โดยหลายฝ่ายหวังว่า จะช่วยให้มีบริษัทผู้ผลิตถ่านหินขนาดใหญ่ ที่มีคุณภาพ และมาตรฐานความปลอดภัยที่ดียิ่งขึ้น (ปัจจุบัน ร้อยละ 80 ของเหมืองถ่านหินในจีนเป็นเหมืองขนาดเล็ก ยังไม่มีอุปกรณ์ความปลอดภัยต่างๆ ตามมาตรฐานที่กำหนด )
ในขณะเดียวกัน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย ต่างแสดงความเห็นว่า ควรมีการพิจารณาแนวทางการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งยังคงเน้นการพึ่งพาพลังงานที่ไม่สะอาด ประกอบกับกระแสความสนใจด้านสิ่งแวดล้อมของจีนในขณะนี้ ทำให้การปรับปรุงแนวทางการพัฒนาพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำให้ลดการพึ่งพาการผลิตพลังงานและกระจายความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ (diversification) ด้วยการพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ๆ และอุตสาหกรรมที่เน้นการใช้เทคโนโลยีชั้นสูง เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง
เศรษฐกิจชะลอตัว สัญญาณเตือนการเร่งลงมือปรับทิศทางพัฒนาพื้นที่
ผู้เชี่ยวชาญหลายฝ่ายชี้ว่า ในขณะนี้เศรษฐกิจจีนชะลอตัว ซึ่งเป็นไปตามกระแสการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และการชะลอตัวของความต้องการถ่านหินในตลาดโลก เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้พลังงานต่างๆ ลดลง ทำให้ผลผลิตถ่านหินล้นตลาด และส่งผลกระทบโดยตรงกับการเติบโตของพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำส่าน-กาน-หนิง-เหมิง
แนวโน้มอุตสาหกรรมถ่านหินในเขตสามเหลี่ยมทองคำ (สถานะเมื่อกลางปี 2556)
อันสอดคล้องกับกระแสระดับประเทศ ซึ่งรัฐบาลกลางได้ประกาศควบคุมปริมาณการผลิตถ่านหินในปี 2556 ให้ไม่เกิน 3.65 พันล้านตัน และเพิ่มขึ้นไม่ถึงร้อยละ 4 รวมทั้งกระแสการใช้พลังงานแหล่งอื่นๆ เพิ่มขึ้น อาทิ พลังงานน้ำ ซึ่งในปีนี้มีผลผลิตสูงขึ้นเนื่องจากมีฝนตกและปริมาณน้ำสูงขึ้นในภาคใต้ของจีน) ดังนั้น จึงเป็นสัญญาณเตือนให้เห็นถึงความสำคัญการปรับทิศทางพัฒนาพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำแห่งนี้ ซึ่งสรุปรายละเอียดประเด็นเพื่อจัดการกับความท้าทายต่างๆ ที่รัฐบาลในท้องถิ่นบางแห่งได้ดำเนินการแล้ว ดังนี้
มาตรการระยะสั้น
มาตรการระยะยาว
บทสรุปและ Lessons learned
โครงการดังกล่าวได้สะท้อนแล้วว่า การพัฒนาโครงการเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของจีน นั้น ต้องอาศัยปัจจัยหลายประการประกอบ โดยเฉพาะการพัฒนาอุตสาหกรรมเก่า ที่จะต้องจัดการกับความท้าทายและการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน อย่างไรก็ดี เชื่อได้ว่า การจัดตั้งพื้นที่ฐานพลังงานของจีนแห่งนี้ น่าจะสามารถสานต่อได้ เนื่องจากศักยภาพของพื้นที่ และความมุ่งมั่นของรัฐบาลในพื้นที่ ที่จะผลักดันโครงการนี้ อันเป็นตัวอย่างของโปรเจคขนาดใหญ่ที่น่าติดตามต่อไปในอนาคต
ตัวอย่างเช่น การที่ รัฐบาลยวีหลินได้ประกาศมาตรการวางโครงสร้างพลังงานใหม่ และส่งเสริมอุตสาหรรมบริการ การใช้เทคโนโลยีชั้นสูง และการประกาศพื้นที่เขตอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูง เป็นต้น
**************
ในส่วนของพื้นที่เขตหนิงตงที่ตั้งของฐานพลังงานสามเหลี่ยมทองคำในเขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยพบข้อมูลสถิติในช่วงไตรมาสแรกของปี 2013 ถึงการบริโภคพลังงานในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่อยู่ที่ 8.89 ล้านตันลดลงถึงร้อยละ 9.5 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ข้อมูลจากสำนักงานการพาณิชย์เขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยรายงานว่าปัจจัยที่ส่งผลให้การบริโภคพลังงานในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของหนิงเซี่ยลดลงเป็นผลจากการถดถอยของเศรษฐกิจ ส่งผลให้เขตอุตสาหกรรมพลังงานหนิงตง มีผลกำไรน้อยลงโดยเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันถึงร้อยละ 12.5 อยู่ที่เพียง 3,003 ล้านหยวน[3]
ข้อมูลอ้างอิง
[1] finance.sina.com.cn/china/dfjj/20120804/001312756088.shtml
[2] บทความ 半数煤矿停产 “能源金三角” 经济失速转型因困,中国经营报道
[3] http://finance.sina.com.cn/roll/20130601/020515661700.shtml
[4] http://finance.jrj.com.cn/2012/11/24051714725061.shtml
[5] finance.ifeng.com/roll/20120804/6870044.shtml
ข้อมูลเพิ่มเติม
1.นครยวีหลิน ตั้งอยู่เหนือสุดของมณฑลส่านซี เป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของจีนรวมถึงเป็นหนึ่งในที่ตั้งของกำแพงเมืองจีนโบราณ ยวีหลินเป็นเมืองที่มีศักยภาพทางด้านอุตสาหกรรมเบาอาทิ เครื่องหนัง สิ่งทอ พรม ปัจจุบัน รัฐบาลพยายามผลักดันศักยภาพทางด้านพลังงานด้วยการก่อตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษเสินฝู่ เน้นอุตสาหกรรมถ่านหิน เกลือ เคมีเป็นหลักและอุตสาหกรรมผลิตเครื่องจักรกลสมัยใหม่เป็นรอง
2.เมืองออร์ดอส อยู่ทางทิศเหนือของเขตปกครองตนเองมองโกเลียในเป็นพื้นที่ที่มีการทับถมของตะกอน ทำให้มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรแร่ธาตุมาก โดยเฉพาะถ่านหินและน้ำมัน ปัจจุบัน มีการค้นพบทรัพยากรแร่ธาตุมากกว่า 120 ชนิด เป็นทรัพยากรแร่ธาตุที่ทำการสำรวจปริมาณแล้ว 78 ชนิด ในจำนวนนี้ มี 42 ชนิดที่มีปริมาณมากจัดอยู่ใน 10 อันดับแรกของประเทศ โดยเฉพาะถ่านหิน มีการค้นพบถ่านหินในพื้นที่ทั้งหมดกว่า 100,000 ตารางกิโลเมตร โดยมีการขุดสำรวจแล้วเป็นปริมาณกว่า 240,000 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 25 ของปริมาณถ่านหินที่ผลิตได้ทั้งประเทศ และมากเป็นอันดับสองของประเทศรองจากมณฑลซานซี
3.เขตอุตสาหกรรมพลังงานหนิงตงของเขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยซึ่งมีปริมาณทรัพยากรถ่านหินอยู่มาก การคมนาคมมีเส้นทางรถไฟสายหลัก 4 สาย และการใช้ทรัพยากรน้ำจากแม่น้ำเหลืองที่มีระยะห่างเพียง 3 กิโลเมตร และมีการจัดสรรการใช้น้ำสำหรับอุตสาหกรรมพลังงานไว้อย่างลงตัวปัจจุบันมีเส้นทางการขนส่งทางรถไฟเชื่อมต่อระหว่างเมือง 4 สายหลักได้แก่เปาหลาน(包兰) หลานซิน(兰新) จงไท่หยิน(中太银) และเป่าจง(宝中) ซึ่งในส่วนของเส้นทางการคมนาคมทางรถยนต์ปัจจุบันหนิงเซี่ยได้ก่อสร้างทางด่วนเชื่อมต่อระหว่างนครหยินชวนไปยังนครชิงเต่าและทางหลวงหมายเลข 307 และ 211
4.พื้นที่ในส่วนภาคตะวันออกของมณฑลกานซู(หล่งตง) มีทรัพยากรถ่านหินมากถึงร้อยละ 90 ของปริมารถ่านหินสำรองของทั้งมณฑลกานซู โดยในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ได้บรรจุแผนพัฒนาอุตสาหกรรมถ่านหินและอุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้า
บทความที่เกี่ยวข้อง
แผน “เขตสามเหลี่ยมทองคำพลังงานหนิงเหมิงส่านกาน” จะผ่านอนุมัติเร็ว ๆนี้
หนิงเซี่ยไชโย แผน “สามเหลี่ยมทองคำพลังงาน” ผ่านการอนุมัติจากรัฐบาลกลาง
ปฐมบทแห่ง “สามเหลี่ยมพลังงานเหมิง-ส่าน-กาน-หนิง” ฐานที่มั่นพลังงานแห่งใหม่ของจีน
รูปภาพประกอบ
Office Hours : Mon-Fri, 09.00-12.00 hrs. and 13.30-17.00 hrs.
Consular Section
VISA inquiries : +(86-29) 6125 3668 ext 801 Monday - Friday 15.00 - 17.00 hrs.
Thai citizen, please contact (+๘๖) ๑๘๒๐๒๙๒๑๒๘๑ for an appointment.