เจาะส่านซี 2 พาไปชมสินค้าเกษตรของดีของส่านซี ที่ใครหลายๆคนอาจจะยังไม่รู้ ตอนจบ

เจาะส่านซี 2 พาไปชมสินค้าเกษตรของดีของส่านซี ที่ใครหลายๆคนอาจจะยังไม่รู้ ตอนจบ

วันที่นำเข้าข้อมูล 23 ก.ย. 2558

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 16 ก.พ. 2564

| 1,396 view

6. มณฑลส่านซี แหล่งกำเนิด酸梅粉   

酸梅粉 หรือ Plum

 powder ใครหลายๆคนอาจจะเคยได้ลิ้มลองรสชาติไปแล้ว ทราบหรือไม่ว่าต้นกำเนิดของเจ้าผงบ๊วยชนิดนี้ก็คือมณฑลส่านซี ถือเป็นของดีประจำมณฑลเลยทีเดียว

 

酸梅粉 ถือเป็นเครื่องดื่มโบราณที่เริ่มมาจาก 酸梅汤(Plum Soup)ในอดีตเคยได้รับสมญานามว่าเป็น“清宫异宝(มีลักษณะพิเศษไม่เหมือนใคร)”นอกจากจะมี Plum เป็นส่วนผสมหลักที่สำคัญแล้ว ยังมีส่วนผสมที่สำคัญไม่แพ้กันนั่นก็คือดอกแรดไม้ (桂花) และ山楂 (Hawthorn) ซึ่งเป็นสมุนไพรที่ใช้กันแพร่หลายเป็นเวลาหลายร้อยปี สรรพคุณของ Plum Soup ไม่เพียงแต่จะมีรสชาติอร่อยยังมีฤทธิ์ดับร้อน แก้กระหายรวมไปถึงเจริญอาหาร

ปัจจุบัน นครซีอานเป็นแหล่งผลิตและแปรรูป酸梅粉 หรือ Plum

 powder ที่เก่าแก่และใหญ่ที่สุดอีกแห่งของประเทศจีน ปัจุบัน 酸梅粉 แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบด้วยกัน ดังนี้

 

                1. เป็นPure Plum powder มีฤทธิ์ในการช่วยเจริญอาหาร และล้างพิษ

                2. Plumpowder ที่ผสมสารปรุงเเต่งอื่นๆลงไปด้วย อาทิ Poly-fructose สามารถทำให้ปริมาณแบคทีเรียในลำไส้เพิ่มขึ้นได้

                3. Plum powder แบบที่ผสมวิตามิน A D และวิตามินที่ร่างกายมนุษย์ต้องการ

ทิศทางตลาดของ Plum powder ในปัจจุบัน พบว่ามีบริษัทซีอานหงเล่อ(西安红乐饮品有限公司)เป็นบริษัทที่เริ่มบุกเบิกธุรกิจการผลิต Plumpowder เป็นแห่งแรกของประเทศจีน โดยเริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2522 ภายใต้แบรนด์ “หวาเล่อ(华乐)” และได้เริ่มการส่งออกไปยังต่างประเทศเมื่อปี 2550 โดยส่งออกไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา แอฟริกาใต้ แซมเบีย บอสซาวาน่า และประเทศฝรั่งเศส ปัจจุบันยังเดินหน้ารุกธุรกิจการจำหน่ายสินค้าออนไลน์อีกด้วย ปัจจุบัน แม้ว่าจะมีโรงงานแปรรูป Plum powderอยู่ทั่วทุกแห่งของประเทศจีน แต่ถ้าหากอยากลิ้มลองรสชาติดั้งเดิมตั้งแต่สมัยโบราณขอแนะนำให้ลองซื้อผลบ๊วยที่แปรรูปจากมณฑลส่านซี

7. ซีเฟิ่งจิ่ว เหล้าดีความภูมิใจของคนส่านซี

หลายๆคนอาจทราบกันดีว่า ธรรมเนียมการรับประทนอาหารของชาวจีนนั้นพิถีพิถันและให้ความสำคัญกับเรื่องการ“ชนแก้ว” เป็นพิเศษ วันนี้ BIC ซีอานจะพาไปรู้จักเหล้า “ซีเฟิ่งจิ่ว” เหล้าพื้นเมืองของมณฑลส่านซี ที่ปัจจุบันกลายเป็นอุตสาหกรรมสุราที่ใหญ่ติดอันดับ 1 ใน 4 ของประเทศจีน  “ซีเฟิ่งจิ่ว”หรือเดิมเรียกกันว่า “หลิวหลินจิ่ว(柳林酒)” เหล้าโบราณตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซัง (ราชวงศ์ที่ 2 ตามประวัติศาสตร์ของจีน)

ลักษณะเด่นของเหล้า”ซีเฟิ่งจิ่ว” ก็คือการใช้ข้าวบาร์เลย์ ข้าวฟ่างและถั่วลันเตา เป็นส่วนผสมหลักในการหมักเหล้า รวมไปถึงขั้นตอนการหมักที่ต้องเก็บไว้มากกว่า 3 ปีขึ้นไป ทำให้เหล้าแบรนด์นี้ได้รับคำยกย่องถึงเอกลักษณ์เฉพาะตัว อาทิ 清亮透明(ใสไม่มีสี),醇香芬芳(มีกลิ่นหอมเข้มข้น),清而不淡(ใสแต่ไม่จืด),浓而不艳 (เข้มแต่ไม่ฉูดฉาด)

ปัจจุบัน “ซีเฟิ่งจิ่ว” ผลิตเหล้าหลากหลายดีกรีเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคดังนี้ 33,38,39,42,45,46,48,50,52,55,และสูงสุด 65 ดีกรี “ซีเฟิ่งจิ่ว” มีฐานการผลิตอยู่ที่นครเป่าจี อ.เฟิ่งเสียง และเนื่องจากปริมาณความต้องการของตลาดทั้งในและนอกประเทศมีมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้บริษัทเริ่มเข้าศึกษาพื้นที่ฐานการผลิตแห่งใหม่โดยคาดการณ์ว่าจะใช้พื้นที่นครเหยียนอานเป็นฐานการผลิตเหล้าแห่งใหม่

ทิศทางตลาดและการลงทุน

ปัจจุบัน “ซีเฟิ่งจิ่ว”ได้เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ไปแล้ว โดยนายยวี่ เต๋อหยี(喻德鱼) ประธานกรรมการบริหาร ได้เคยให้ข้อมูลเพิ่มเติมระหว่างการประชุมสุราขาวประจำภาคพื้นตะวันออกของจีนครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2554 โดยกล่าวว่าขั้นตอนการนำ “ซีเฟิ่งจิ่ว”เข้าตลาดหลักทรัพย์ทั้งหมดจะเสร็จสิ้นภายในปี 2555 นี้  

นอกจากนี้เมื่อปลายปี 2554 “ซีเฟิ่งจิ่ว” ยังได้ทุ่มเงินทุนกว่า 800 ล้านหยวนในการพัฒนา การขยายพื้นที่โรงบ่มเหล้ารวมไปถึงการก่อสร้างศูนย์บรรจุกระป๋องและพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมซีเฟิ่งจิ่ว บนเนื้อที่กว่า 1,260 ไร่ ปัจจุบันมูลค่าการค้าของซีเฟิ่งจิ่วอยู่ที่ราว 5,000 ล้านหยวน/ปี

ข้อมูลด้านการส่งออก

“ซีเฟิ่งจิ่ว”เริ่มการส่งออกไปยังต่างประเทศครั้งแรกเมื่อเดือนมีนาคม 2554 โดยได้ส่งเหล้า “ซีเฟิ่ง 1956” จำนวน 2.5ล้านลิตรไปยังประเทศเยอรมัน ถือเป็นการเข้าไปบุกตลาดยุโรปครั้งแรกของเหล้า “ซีเฟิ่งจิ่ว” นอกจากนี้ในเดือนมิถุนายน 2554 “ซีเฟิ่ง1965” ยังได้ถูกส่งออกไปยังประเทศในแถบยุโรปอย่างเป็นทางการ รวมไปถึงในเดือนตุลาคม 2554 ที่ผ่านมา “ซีเฟิ่ง1956”ยังได้ส่งออกไปยังประเทศแคนาดาโดยการก่อตั้งบริษัทที่ชื่อว่า “หยินต๋าจิ่วเย่(银达酒业)”

8.พุทราหัวสุนัข ของดีประจำมณฑลส่านซี

“พุทราหัวสุนัข” คือคือพุทราแดงชนิดหนึ่งที่มีขนาดโตเท่าไข่ไก่หรืออาจมีขนาดที่ใหญ่กว่า ว่ากันว่าพุทราดีต้องมาจากทางตอนเหนือของมณฑลส่านซี ซึ่งแหล่งเพาะปลูกพุทราที่มีชื่อเสียงของส่านซีได้แก่ หมู่บ้านจางเจียเหอ(张家河乡) อ.เหยียนชวน นครเหยียนอานและอ.ชิงรุ่นเซี่ยน (清涧县) ซึ่งพื้นที่เพาะปลูกบริเวณนี้เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของที่ราบลุ่มแม่น้ำเหลือง ดินมีความอุดมสมบูรณ์มาก ทำให้สามารถปลูกพุทราได้ผลผลิตดี  

ทิศทางตลาดและการส่งออก

ปัจจุบันพุทราหัวสุนัขมีช่วงเวลาเก็บเกี่ยวและออกสู่ตลาดเพื่อทำการจำหน่ายในช่วงเดือนกันยายนและเดือนตุลาคม ซึ่งนอกจากจะเป็นการจำหน่ายในประเทศแล้วยังมีการแปรรูปและส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศอีกด้วย  ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ฮวาซัง รายงานถึงมูลค่าการผลิตของพุทราหัวสุนัขอ.เหยียนชวน ปี 2554 มีมูลค่าสูงถึง 70 ล้านหยวน[1] และข้อมูลจากเว็บไซด์เศรษฐกิจของจีน รายงานว่าหลังจากที่อ.เหยียนชวนได้รับการยอมรับจากกรมป่าไม้ของประเทศจีนว่าให้เป็นพื้นที่ “บ้านเกิดของพุทราของจีน” ในปี 2544 เดิมพื้นที่การปลูกพุทราอยู่ที่ 72,000 ไร่ ในปีพ.ศ 2533 พุ่งสูงขึ้นเป็น 926,400 ไร่ในปีพ.ศ. 2553 และมีวางเป้าหมายในการขยายพื้นที่การเพาะปลูกให้ถึง 1.1ล้านไรภายในสิ้นปีนี้ นับเป็นผลงานชิ้นโบว์แดงของหน่วยงานท้องถิ่นและธนาคารเพื่อการเกษตร ซึ่งได้เข้าไปช่วยเหลือและสนับสนุนเกษตรกรผู้ปลูกพุทราในด้านต่างๆ อาทิ

ในส่วนของหน่วยงานภาครัฐ ได้มีนโยบายการเรียกคืนพื้นที่ทำนาเพื่อฟื้นฟูเป็นป่า รวมไปถึงมาตรการให้ความช่วยเหลือทางด้านเงินทุน โดยจัดตั้ง 3 มาตรการหลักด้วยกัน ได้แก่

                -  ออกมาตรการละเว้นการเก็บภาษีและค่าใช้จ่ายในการขออนุญาตปลูกพืช (พุทรา)         

                -  รัฐบาลจะให้การสนับสนุน ในรายเกษตรกรที่จะหันมาใช้วิธีการปลูกพืชคลุมดิน

                -  รัฐบาลท้องถิ่นจะให้การสนับสนุน การก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคให้แก่พื้นที่เพาะปลูกพุทราตั้งแต่ขนาด 300 หมู่ (720 ไร่) ขึ้นไป และให้เงินสนับสนุนการสร้างเส้นทางคมนาคมโดยให้เงินสนับสนุนเงิน 10,000 หยวน/ 1 กิโลเมตร นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากธนาคารเพื่อการเกษตรของจีน (Agricultural Bank of China) ให้การสนับสนุนเกษตรกรในการสร้างโรงอบแห้ง เนื่องมาจากในทุกๆปี เกษตรกรผู้ปลูกพุทราจะต้องฝากความหวังเอาไว้ที่ดินฟ้าอากาศ หากปีไหนฝนตกชุก การนำพุทรามาตากแห้งก็จะมีอัตราส่วนเสียหายมากขึ้นเนื่องจากโดนความชื้นทำลาย แต่หลังจากที่ธนาคารให้การสนับสนุนการสร้างโรงอบแห้ง ก็ทำให้ปัญหานี้หมดไป

ทิศทางการส่งออกของพุทราหัวสุนัขของอ.เหยียนชวน นครเหยียนอาน เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2543 โดยเป็นการส่งไปจำหน่ายยังพื้นที่ในประเทศจีนได้แก่ นครกวางโจว และได้เริ่มส่งออกไปยังต่างประเทศในปีพ.ศ 2548 โดยส่งไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา ไต้หวัน และฮ่องกง

9.ลูกพลับไฟ ลูกพลับสีแดงเพลิงแห่งเมืองหลินถง

“ลูกพลับ”ถือเป็นผลไม้มงคลที่ชาวจีนนิยมนำมาเป็นของกำนัลเพื่อความเป็นสิริมงคล ลูกพลับแบ่งออกเป็นหลากหลายสายพันธุ์ด้วยกัน ขึ้นอยู่กับแหล่งพื้นที่ปลูกอาทิ ลูกพลับญี่ปุ่น พลับจีน พลับเกาหลี พลับไทย พลับนิวซีแลนด์ วันนี้ BIC ซีอานจะพาไปรู้จักลูกพลับจีนชนิดหนึ่งซึ่งถือเป็นของดีประจำถิ่นที่สร้างรายได้งามให้แก่เกษตรกร นั่นก็คือ ลูกพลับไฟหลินถง (临潼火晶石子) เป็นผลไม้ในตระกูล Ebeuaceaeเมืองหลินถงนอกจากจะเป็นแหล่งปลูกทับทิมที่ขึ้นชื่อของประเทศจีนแล้ว ยังเป็นแหล่งปลูกลูกพลับไฟที่ขึ้นชื่ออีกแห่งหนึ่งของประเทศจีน ลูกพลับไฟแห่งเมืองหลินถงนี้ยังได้รับสมญานามว่าเป็น “最甜的金果(ผลไม้สีทองที่มีรสหวานที่สุด)”อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีอุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีน วิตามินซี แคลเซี่ยม ฟอสฟอรัส โปแตสเซี่ยม และไอโอดีนมากกว่าแอปเปิ้ล สาลี่ และลูกพีชอีกด้วย เหตุที่มีการเรียกชื่อของลูกพลับชนิดนี้ว่าลูกพลับไฟเนื่องมาจากมีสีที่แดงจัดและขนาดผลที่จัดว่าไม่โตมาก เป็นที่นิยมของชาวจีนมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2443(ค.ศ.1990)

ทิศทางตลาดและการส่งออกลูกพลับไฟของเมืองหลินถง

เนื่องมาจากลูกพลับเป็นผลไม้ที่มีปริมาณน้ำตาลสูงมาก นอกจากจะนำผลสุกมาบริโภคแล้ว ยังสามารถนำใบของต้นพลับมาแปรรูปเป็นใบชาได้อีกด้วย ซึ่งมีคุณสมบัติในการช่วยละลายไขมันในเส้นเลือดรวมไปถึงโรคภาวะหลอดเลือดต่างๆ และการนำผลลูกพลับสุกไปแปรรูปเป็นไวน์ น้ำส้มสายชู รวมไปถึงยาที่ใช้ในการรักษาโรคทางเดินอาหาร จากข้อมูลพบว่าจีนได้มีการส่งออกใบชาที่แปรรูปมาจากใบของต้นพลับไปยังประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ปีพ.ศ. 2513 แต่ในส่วนของการส่งออกผลลูกพลับของเมืองหลินถงเริ่มขึ้นครั้งแรกในปีพ.ศ.2551โดยเป็นการส่งออกลูกพลับไปยังประเทศรัสเซียจำนวน 32 ตัน แต่เนื่องจากปัจจุบันยังประสบปัญหาในด้านการปลูกและบำรุงพันธุ์ที่ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาศัตรูพืชได้ทั้งหมด ทำให้ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาต้องประสบปัญหาไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานการส่งออกไปยังต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลฯร่วมกับสำนักงานกักกันและตรวจสอบประจำมณฑลส่านซีได้ร่วมมือกันปรับเปลี่ยนระบบการปลูกลูกพลับในสมัยก่อน โดยนำเข้าและผสมผสานเทคโนโลยีสมัยใหม่และเข้าไปให้ความรู้แก่เกษตรกร โดยมีส่วนที่สำคัญดังนี้

                - ปรับเปลี่ยนแผนโครงสร้างการใช้ปุ๋ยและยาฆ่าศัตรูพืชในพื้นที่การปลูกลูกพลับใหม่  

                - ปฏิบัติตามขั้นตอนการควบคุม การกำจัดโรคและศัตรูพืชตามมาตรฐานการส่งออกผลไม้

                - ขึ้นทะเบียนสวนลูกพลับที่ได้มาตรฐานในทุกขั้นตอน

ปัจจุบันรัฐไม่เพียงแต่ใส่ใจในขั้นตอนการส่งออกของลูกพลับสดเท่านั้นแต่ขั้นตอนการแปรรูปลูกพลับก็ยังได้รับการเอาใจใส่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่แพ้กัน โดยสำนักงานกักกันและตรวจสอบประจำมณฑลส่านซีได้กำหนดขั้นตอนและกฎระเบียบในการส่งออกลูกพลับ โดยกำหนดให้ลูกพลับที่จะทำการแปรรูปเพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศจำเป็นต้องแสดงหลักฐานของแหล่งที่มา(แหล่งปลูกลูกพลับ)รวมไปถึงจะต้องมาจากสวนลูกพลับที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเท่านั้น ในส่วนของขั้นตอนการบรรจุก็มีการเข้มงวดเช่นกันโดยบรรจุภัณฑ์จะต้องผ่านการตรวจสารตกค้างจากสารกำจัดศัตรูพืชรวมไปถึงสารมีพิษอีกด้วย 

10.อ.โจวจื้อ ต้นกำเนิดกีวีก่อนประเทศนิวซีเเลนด์

“กีวี” คนจำนวนมากอาจจะเข้าใจว่าเป็นผลไม้ที่มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศนิวเซีแลนด์ แต่อันที่จริงแล้ว “กีวี”มีแหล่งกำเนิดมาจากตอนใต้ของประเทศจีนบริเวณลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง ก่อนที่จะมีการนำเอา กีวี ไปปลูกที่ประเทศนิวซีแลนด์ เมื่อร้อยกว่าปีก่อน มิชชั่นนารีนิวซีแลนด์คณะหนึ่งเดินทางไปเยือนเมืองจีนและกลับบ้านมาพร้อมกับนำผลไชนีสกูสเบอร์รี่ติดไม้ติดมือกลับมาด้วย จากนั้นมีการนำเมล็ดไปเพาะลงดิน กระทั่งต่อมาได้พัฒนาสายพันธุ์จนกลายเป็นสกูสเบอร์รี่พันธุ์นิวซีแลนด์หรือตั้งชื่อใหม่เป็น กีวี ตามนกกีวีซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของประเทศนิวซีเเลนด์

หากพูดถึงกีวีของจีน ก็คงจะหนีไม่พื้น กีวีจากอำเภอโจวจื้อมณฑลส่านซี อำเภอโจวจื้อเป็นอำเภอที่อยู่ภายใต้เขตปกครองของนครซีอาน ตั้งอยู่บนบริเวณที่ราบกวนจงถือเป็นอีกหนึ่งอำเภอที่มีความอุดมสมบูรณ์ในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติ โดยมีโครงสร้างรูปแบบที่เรียกว่า “七山一水二分田”จึงทำให้อำเภอโจงจื้อนอกจากจะมีจุดเด่นเป็นสินค้าเกษตรแล้วยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามเป็นจุดขายอีกด้วย ปัจจุบันอำเภอโจวจื้อเดินตามแผนนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเน้นหนักทางด้านการพัฒนาอำเภอให้เป็นแหล่งระบบนิเวศน์ขนาดใหญ่ แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม รวมไปถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปสินค้าเกษตรของอำเภอเองด้วย

ในส่วนของสินค้าเกษตรทำเงินและสร้างชื่อเสียงให้แก่อำเภอโจวจื้อในปัจจุบันมี 3 ชนิดด้วยกันได้แก่ 1.กีวี 2. ต้นอ่อนของดอกไม้ และ3.ผักสด โดยสัดส่วนของการปลูกพืชเศรษฐกิจทั้ง 3 ชนิดนี้สามารถเเบ่งได้ตามพื้นที่ทางตอนเหนือของอำเภอเป็นฐานการผลิตต้นอ่อนของดอกไม้และผักสด พื้นที่ทางตอนกลางของอำเภอเป็นแหล่งปลูกกีวีขนาดใหญ่

ประวัติความเป็นมาของกีวีพบว่ากีวีของจีนในสมัยก่อนเรียกกันว่า 杨桃หรือ 毛梨桃 ว่ากันว่าเริ่มมีการปลูกพืชชนิดนี้ในมณฑลส่านซีตั้งแต่ปีค.ศ.1200  และยังปรากฎข้อความของกวีเสินเซิน(岑参)จารึกบทกลอนไว้ในสมัยราชวงศ์ถังว่า “中庭井栏上,一架猕猴桃”เป็นการกล่าวเปรียบเปรยว่าผลกีวีนี้ใช้ทำเป็นยามาแล้วช้านาน นอกจากนี้ในตำรายา本草拾遗 (A Supplement to Materia Medica)ยังได้บันทึกข้อมูลสรรพคุณทางยาของกีวีเอาไว้อีกด้วย “กีวี”จากอำเภอโจวจื้อได้รับสมญานามให้เป็น 五最(ที่สุด 5 ประการ)”อันได้แก่ พื้นที่ปลูกกีวีมากที่สุด ปริมาณผลผลิตมากที่สุด คุณภาพดีที่สุด เทคโนโลยีการจัดการดีที่สุดและศักยภาพในการเก็บรักษาคุณภาพของกีวีทำได้ดีที่สุด

และจากอานิสงค์ของโครงการ “1หมู่บ้าน 1 ผลิตภัณฑ์”ของนครซีอานส่งผลให้กีวีจากอำเภอโจวจื้อได้รับการผลักดันเป็นผลไม้หลักส่งออกของนครซีอานอีกชนิดหนึ่งด้วย พื้นที่ปลูกกีวีในปัจจุบันของอำเภอโจวจื้อครอบคลุมไปกว่า 312,000 ไร่ ถือเป็นอำเภอที่มีการปลูกกีวีมากที่สุดในประเทศจีนเลยทีเดียว (พื้นที่ปลูกกีวีของจีนทั้งหมด 648,000 ไร่) และมีปริมาณการผลิตต่อปีที่มากกกว่า 100,000 ตัน

อำเภอโจวจื้อมีกีวีมีอยู่ 2 สายพันธุ์ด้วยกันได้แก่ สายพันธุ์绿化苗木และ花卉系列มีหลายประเภทที่เกษตรกรนิยมนำมาปลูกอาทิ亚特(Stuart)秦美(QinMei)海沃德(Hayward)龙伯(LongBo)เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันผลผลิตกีวีจากอำเภอแห่งนี้ได้รับการยอมรับจาก Eurocert[2]    (European Union Certified Organic)  

ทิศทางตลาดและการส่งออกกีวีของอำเภอโจวจื้อ

ปัจจุบันมีวิสาหกิจเข้าไปลงทุนการปลูกและแปรรูปกีวีในอำเภอโจวจื้ออยู่เป็นจำนวนมากอาทิ บ.陕西省周至县名优猕猴桃有限公司 มีการผลิต แปรรูปกีวีเพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศ โดยในปัจจุบันมีคลังเย็นเก็บรักษากีวีที่ความจุ 1,000 ตัน ผ่านการรับรองคุณภาพและความปลอดภัย(QS) ระดับประเทศ ปัจจุบันประเทศที่ส่งออกกีวีไปจำหน่ายได้แก่ ไต้หวัน รัสเซีย แคนาดา อังกฤษ เยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาลีและสเปน ในรูปแบบของผลกีวีสดและแบบดองสำเร็จรูป ปริมาณกว่า 1,000/ปี แต่ไม่ปรากฎตัวเลขการจำหน่ายในประเทศ

นอกจากนี้เมื่อเดือนมิถุนายน 2554 ยังได้มีโครงการร่วมลงทุนกันของรัฐบาลท้องถิ่นอำเภอโจวจื้อกับกลุ่มบริษัท Lenovo ในโครงการความร่วมมือด้านการผลิตกีวี โดยใช้ชื่อว่าบริษัทเป่ยจิงหวาเซี่ย (北京华夏联诚果业商贸有限公司)ด้วยมูลค่าการลงทุนถึง 400 ล้านหยวน ซึ่งจะเป็นการก่อสร้างพื้นที่สวนสาธิตกีวี ณ อำเภอโจวจื้อบนเนื้อที่ 3,600 ไร่ ประกอบไปด้วยพื้นที่การขนส่งและกระจายสินค้ากีวีสำเร็จรูปขนาด 50,000 ตัน พื้นที่ศูนย์วิจัยและพัฒนากีวี ซึ่งโครงการได้เริ่มลงมือก่อสร้างไปแล้วตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2554

ในส่วนของภาครัฐบาลก็ได้มีการผลักดันและสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปกีวีด้วยเช่นกัน โดยรัฐบาลท้องถิ่นมณฑลส่านซีได้เริ่มโครงการจัดตั้งศูนยการค้าส่งกีวีนานาชาติขึ้น ณ นครเป่าจี ครอบคลุมพื้นที่กว่า 6,270 ไร่ โครงการก่อสร้างศูนย์การค้าส่งกีวีนานาชาตินี้ รัฐบาลท้องถิ่นร่วมกับสำนักงานการเกษตรมณฑลส่านซีได้ทุ่มงบประมาณกว่า 2, 800 ล้านหยวน โดยคาดการณ์ว่าจะสามารถรองรับปริมาณการค้าส่งได้ 500,000 ตัน/ปี คาดการณ์มูลค่าการค้าส่งจะอยู่ที่ 3,000 ล้านหยวนต่อปี มูลค่าการค้าส่งอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องต่อการปลูกกีวีจะอยู่ที่ราว 500 ล้านหยวนต่อปี และในโครงการก่อสร้างช่วงที่ 1 ได้ทำความร่วมมือกับบ.Global Hovt จากประเทศนิวซีแลนด์ สมาคมผู้ปลูกกีวีมณฑลส่านซี และอีกกว่า 13 บริษัททางด้านการเกษตรร่วมกันก่อตั้งและสร้างคลังเก็บ (Cold storage) สินค้ากีวีร่วมกัน

บทสรุปทิศทางของสินค้าเกษตรส่านซี

เราจะเห็นได้ว่าปัจจุบันรัฐบาลจีนพยายามที่จะยกระดับเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของเกษตรกรมากขึ้น สังเกตุได้จากนโยบายและมาตรการช่วยเหลือต่างๆ ในส่วนมาตรการการช่วยเหลือและสนับสนุนเกษตรกรยังคงออกมาเป็นระยะๆเพื่อกระตุ้นวงจรการผลิตและแปรรูปสินค้าเกษตร ซึ่งอย่างไรก็ตามถึงแม้สินค้าเกษตรจะสามารถตอบสนองในแง่ของปริมาณได้แล้วในปัจจุบันจีนพยายามอย่างยิ่งที่จะยกระดับมาตรฐานและคุณภาพของสินค้าเกษตรให้เป็นที่ยอมรับมากขึ้น และเชื่อว่าจีนจะสามารถบรรลุเป้าหมายที่ได้วางเอาไว้เนื่องจากประเทศจีนเป็นประเทศที่มีฐานทางด้านการวิจัยและพัฒนาที่เเข็งแกร่ง ไม่ว่าจะเป็นในด้านของการพัฒนาและปรับปรุงสายพันธุ์พืช การนำเทคโนโลยีและวิวัฒนาการต่างๆเข้ามาใช้ในการเพิ่มประมาณและคุณภาพผลผลิต อีกปัจจัยสำคัญนั่นก็คือกำลังการซื้อของประชากรจีนสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งจีนได้พยายามที่จะตอบสนองรสนิยมและทิศทางการบริโภคของประชากรที่กำลังหันเหไปหาแนวทางรักสุขภาพมากขึ้น

ในส่วนของมณฑลส่านซี ถือเป็นพื้นที่ทางตะวันตกที่รัฐบาลกลางหมายมั่นปั้นมือที่จะให้เป็นศูนย์กลางของพื้นที่ตอนในของประเทศ ซึ่งในปัจจุบันรัฐบาลพยายามผลักดันให้มณฑลส่านซีเป็น”เมืองที่มีศักยภาพหลากหลาย” อาทิ การเป็นฐานการผลิตของอุตสาหกรรมการบินที่ใหญ่ที่สุดของประเทศจีน เป็นฐานการผลิตแหล่งพลังงานติดอันดับของประเทศจีน รวมไปถึงการเป็นแหล่งต้นกำเนิดและพื้นที่เพาะปลูกของพืชเศรษฐกิจอีกหลายชนิด นอกจากนี้รัฐบาลท้องถิ่นได้พยายามที่จะยกระดับความเป็นนานาชาติให้แก่มณฑลส่านซีด้วยการ เปิดบ้าน ให้วิสาหกิจต่างชาติเข้ามาลงทุนในพื้นที่เพื่อกระตุ้นภาคการผลิตรวมไปถึงกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวมและความพยายามที่จะพัฒนาเส้นทางการคมนาคมขนส่งซึ่งถือเป็นปัจจัยเร่งด่วนในการพัฒนาเศรษฐกิจของมณฑลและการเข้าถึงพื้นที่ทางตอนในของจีน ปัจจุบันได้มีการก่อสร้างศูนย์การขนส่งนานาชาติซีอาน[3]   ซึ่งหากพิจารณาจากข้อมูลแล้วพบว่ามูลค่าการค้าต่างประเทศของมณฑลส่านซีเพิ่มขึ้นทุกปีและระบบการขนส่งของส่านซีก็เติบโตอย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน นับเป็นสัญญาณที่ดีของเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของส่านซีที่มีแนวโน้มสดใส ในอนาคตอันใกล้คงจะต้องจับตามองส่านซีมณฑลตอนในไร้ทางออกสู่ทะเลของจีนว่าจะมีทิศทางการพัฒนาของเศรษฐกิจไปในทางใด

_________________________________________

[1] ข้อมูลจาก www.finance.hsw.cn (2011-01-24)

[2] อ้างอิงจาก baike.baidu.com/view/2794176.html

[3] ท่าสินค้านานาชาติซีอาน ถือเป็นMega-Projectของมณฑลส่านซีในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม 5 ปีฉบับที่ 11 ของจีน (2549-2553) ตั้งอยู่ใน“เขตสามเหลี่ยมแม่น้ำป้าและเว่ย” ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของนครซีอาน ทิศตะวันตกขนาบ “แม่น้ำป้า” ทิศเหนือติด “เส้นทางรถไฟวงแหวนเหนือ” ทิศตะวันออกติด “ทางหลวงซีหาน” และทิศใต้ติด “ทางด่วนยกระดับอ้อมเมืองซีอาน” รวมถึงเป็นแหล่งรวมของแม่น้ำ 4 สาย คือ แม่น้ำจิง เว่ย ฉ่านและป้า

 

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ