วันที่นำเข้าข้อมูล 23 ก.ย. 2558
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 20 พ.ค. 2565
ช่วงปลายเดือนพฤษภาคม เข้าเดือนมิถุนายนนี้ นักศึกษาชาวจีนซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีสุดท้าย ต่างก็ขะมักเขม้น ทั้งการเรียน การสอบ และที่สำคัญที่สุด คือ การเตรียมตัวเพื่อพร้อมเผชิญกับโลกแห่งการทำงาน ซึ่งก้าวแรกที่น้องๆ นักศึกษาจะต้องเผชิญก็คือ กระบวนการการสมัครงานนั่นเอง
บีไอซีซีอานเห็นความน่าสนใจของการเตรียมพร้อมของกลุ่มผู้มีความรู้ใช้ภาษาไทยกับการหางาน ซึ่งเมื่อพิจารณาด้านอุปทาน (supply) แล้ว ปัจจุบันพบว่ามีมหาวิทยาลัยในจีนกว่าสามสิบแห่งในประเทศจีนที่เปิดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีวิชาภาษาไทยหลายท่านอาจสนใจถึงโอกาสและความท้าทายในการเช้าทำงานของกลุ่มผู้จบการศึกษาด้านภาษาไทยในประเทศจีน
นอกจากนี้ สำหรับอุปสงค์ (demand) หรือความต้องการผู้ใช้ภาษาไทย ก็สามารถพิจารณาได้จาก แนวโน้มตัวเลขการค้า และการลงทุนไทยกับส่านซี ซึ่งตั้งแต่ปี 2009-2011 ได้เพิ่มขึ้น เฉลี่ยร้อยละ 66.66 ต่อปี และปัจจุบันจากแหล่งข่าวข้อมูลในเว็บไซด์จีนธุรกิจออนไลด์(中国企业在线:http://www.71ab.com/) มีบริษัทที่ดำเนินการธุรกิจเกี่ยวกับไทยในมณฑลส่านซี.... รายของไทยที่มีการลงทุนในมณฑลส่านซีแล้วประมาณ 30 บริษัท ทั้งนี้ข้อมูลมณฑลส่านซีระบุว่ามีธุรกิจไทยมาลงทุนในมณฑลส่านซีแล้วรวม 6 ราย
ในโอกาสนี้ บีไอซีซีอานจึงได้ทำการศึกษาประมวลข้อมูลจากกลุ่มคณะอาจารย์ นักศึกษา ภาควิชาภาษาไทย โดยความอนุเคราะห์ของ อ. Qiu Xiaoxia หัวหน้าภาควิชาภาษาไทยและบริษัทต่างๆ ในมณฑลส่านซี เพื่อนำมาเสนอมุมมองต่างๆ เกี่ยวกับการประสบความสำเร็จในการหางานของกลุ่มนักศึกษาวิชาภาษาไทย รวมทั้งความสนใจในการเรียนภาษาไทยสำหรับกรณีศึกษาของมณฑลส่านซี มาติดตามกันเลยค่ะ
Investigating the supply มารู้จักอุปทาน (จำนวนผู้เรียนภาษาไทย) ในตลาดหางานของผู้เรียนจบภาษาไทย
ที่มาของการจัดตั้งภาควิชาภาษาไทย และจำนวนนักศึกษาในปัจจุบัน
การสอนภาษาไทยในส่านซี เกิดขึ้นจากเจตนารมณ์ของผู้นำมณฑล ที่เห็นโอกาสการส่งเสริมการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างไทยกับส่านซี ประกอบการที่มีการจัดตั้งสำนักงานกงสุลไทย(ซึ่งต่อมาได้ยกระดับเป็นสถานกงสุลไทย ณ นครซีอาน) ซึ่งหลายฝ่ายเห็นว่าจะช่วยกระชับความสัมพันธ์ไทย-ส่านซีให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ ส่งผลช่วยให้มีความต้องการผู้รู้ภาษาไทยเพิ่มขึ้นในพื้นที่อีกด้วย
ดังนั้น จึงได้มีการก่อตั้ง ภาควิชาภาษาไทย คณะภาษาตะวันออก มหาวิทยาลัยการศึกษาต่างประเทศซีอาน ( Xi’an International Studies University หรือ XISU) ซึ่งเริ่มการเรียนการสอนขึ้นในปี 2551 ปัจจุบันมีนักเรียนทั้งหมดสี่ชั้นปีรวม 85 คน รุ่นละประมาณ 20-29 คน โดยนักศึกษาชั้นปีที่สี่ซึ่งเป็นนักศึกษารุ่นแรกที่จะจบในปี 2555 นี้มีอยู่ 27 คน
ปัจจุบันมหาวิทยาลัยการศึกษาต่างประเทศซีอานมีความตกลงแลกเปลี่ยนนักศึกษากับมหาวิยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยขอนแก่น และมีความร่วมมือกับวิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรีบริหารธุรกิจในการแลกเปลี่ยนนักศึกษาพร้อมโครงการฝึกงาน นอกจากนี้ ภาควิชาภาษาไทย XISU ยังมีโครงการส่งเสริม การใช้ภาษาไทย เป็นประจำทุกปี อาทิ งานสัปดาห์ไทย การประกวดเรียงความ เป็นต้น
นักศึกษาและบุคคลทั่วไปในส่านซีเลือกเรียนภาษาต่างประเทศไหนบ้าง
ความนิยมภาษาต่างประเทศในมณฑลส่านซี ในขณะนี้ สามารถแบ่งประเภทได้ ดังนี้
is moderate, supply is moderate) ได้แก่ ฝรั่งเศส เยอรมัน อาหรับ
ทั้งนี้ ปัจจัยส่วนหนึ่งที่ทำให้มีผู้สนใจภาษาอังกฤษ สเปน และญี่ปุ่นมากเป็นอันดับต้น ก็คือความต้องการบุคลากรที่ใช้ภาษาดังกล่าว ซึ่งมีจำนวนมาก เมื่อเทียบกับภาษาอื่นๆ
Understanding the demand รู้จักอุปทานตลาดงานผู้เรียนภาษาไทย
งานที่ต้องการผู้ใช้ภาษาไทยในส่านซี
นักศึกษาส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่า งานที่ใช้ภาษาไทยโดยตรงในส่านซี อาจยังมีไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม ผู้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ ไม่ใช่ชาวส่านซี แต่เป็นนักศึกษาจากมณฑลอื่นๆ ทั่วประเทศจีน ดังนั้น นักศึกษาบางส่วนจึงเห็นว่า จำนวนตำแหน่งที่ต้องการผู้รู้ภาษาไทยในส่านซี อาจจะไม่ใช่ประเด็นหลัก เมื่อพิจารณาเวลาเลือกสถานที่สมัครงาน
อุปทาน (ความต้องการ) ผู้ใช้ภาษาไทยจากมุมมองธุรกิจในพื้นที่
จากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการในธุรกิจเกี่ยวกับไทยในส่านซี (นำเข้าผลไม้ไทย ท่องเที่ยว การลงทุนของบริษัทไทย เป็นต้น) พบว่าธุรกิจบริการส่วนใหญ่ให้ความสำคัญแก่ความรู้ภาษาต่างประเทศ ทักษะความรู้ด้านต่างๆ ในการทำงาน และความสามารถในการเรียนรู้ ความกระตือรือร้นในการทำงาน
สำหรับนักศึกษาที่ประสงค์หางานในประเทศไทย มีส่วนหนึ่งพบว่า งานส่วนใหญ่จะเป็นระยะสั้นๆ หนึ่งถึงสามปี
How supply meets demand ประสบการณ์หางานของนักศึกษา ป.ตรี ภาษาไทยรุ่นแรกของซีอาน
ขณะนี้ (พ.ค. 2555) มีนักศึกษาชั้นปีที่สี่รวมร้อยละ 78 ของนักศึกษา 27 คนที่สามารถหางานทำสำหรับหลังการจบการศึกษาได้แล้ว โดยเข้าทำงานในมณฑลต่างๆ กัน ทั้งปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ ส่านซี และมณฑลอื่นๆ ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน กับบริษัทด้านต่างๆ กัน ทั้ง ไอที (baidu.com) ยานยนต์ น้ำมัน สายการบิน (Business Air) เป็นต้น
พบว่านักศึกษาบางรายได้รับเข้าทำงานในตำแหน่งที่ต้องการผู้มีความรู้ด้านภาษาไทยโดยตรง บางรายเข้าทำงานในองค์กรที่เห็นว่าภาษาไทยมีประโยชน์ต่อโครงการหรือแผนงานบางชิ้นของบริษัทในปัจจุบันและอนาคต และบางรายจะเข้าทำงานในองค์กรไม่ระบุความต้องการระดับความรู้ภาษาไทยเป็นการเฉพาะ
Not just a demand-supply story ตลาดงานผู้เรียนจบภาษาไทยในส่านซี ไม่ใช่เพียงเรื่องของอุปสงค์กับอุปทาน
จากความเห็นของอาจารย์ และนักศึกษาที่หางานได้แล้ว รวมทั้งที่กำลังหางานหลังจบ
การศึกษาปริญญาตรีภาษาไทย และบริษัทต่างๆ พบว่า
ประการแรก ประเด็นสำคัญสำหรับการตลาดงานของผู้เรียนจบภาษาไทย หรือเรียนจบภาษาต่างประเทศ ไม่ใช่เรื่องของอุปสงค์กับอุปทาน แต่เป็นเรื่องของ mobility สำหรับนักศึกษา ว่าสามารถเคลื่อนย้ายไปทำงานในมณฑลอื่นๆ หรือเรียนรู้ทักษะการทำงานใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็ว หรือไม่
ประการที่สอง ประเด็นสำคัญอีกด้านคือ ทักษะที่อาจไม่มีการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน ได้แก่ ทักษะด้านการทำงานและการติดต่อกับผู้อื่น เนื่องจากนักศึกษาภาษาต่างประเทศ ส่วนใหญ่จะต้องทำงานที่มีการติดต่อสื่อสารกับบุคคลต่างๆ หรือต้องใช้ความรู้ในการถ่ายทอดถ้อยคำ ข้อความ โดยคำนึงถึงความแตกต่างด้านวัฒนธรรมอีกด้วย
จากการสำรวจและสัมภาษณ์ สำหรับการพิจารณาทักษะของนักศึกษาผู้เรียนจบภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศแล้ว บริษัทในส่านซีให้ความสำคัญเรียงลำดับได้ ดังนี้ (1) ความกระตือรือร้นในการเรียนรู้เกี่ยวกับงานที่ตนรับผิดชอบ (2) ทักษะการทำงานทั่วไปที่ดี และรองลงมา (3) ทักษะด้านภาษา และ (4) การทำงานเป็นทีม
ขอขอบพระคุณ อาจารย์ Qiu Xiaoxia (อ.เล็ก) อาจารย์วาด และนักศึกษาชั้นปีที่สี่ มหาวิทยาลัยการศึกษาต่างประเทศซีอาน
พฤษภาคม 2555
สุพรรษา ทองทวี/ธนียา ศรีพัฒนาวัฒน์
บทความที่เกี่ยวข้อง
รูปภาพประกอบ
Office Hours : Mon-Fri, 09.00-12.00 hrs. and 13.30-17.00 hrs.
Consular Section
VISA inquiries : +(86-29) 6125 3668 ext 801 Monday - Friday 15.00 - 17.00 hrs.
Thai citizen, please contact (+๘๖) ๑๘๒๐๒๙๒๑๒๘๑ for an appointment.