การเชื่อมต่อเส้นทางคมนาคมขนส่งระหว่างไทยกับมณฑลทางภาคตะวันตกของจีน

การเชื่อมต่อเส้นทางคมนาคมขนส่งระหว่างไทยกับมณฑลทางภาคตะวันตกของจีน

วันที่นำเข้าข้อมูล 22 ก.ย. 2558

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 5 พ.ย. 2562

| 1,400 view

การขนส่งสินค้าไทยสู่ภาคตะวันตกจีน โดยเฉพาะนครซีอาน มักนิยมใช้เส้นทางขนส่งทางเรือจากท่าเรือแหลมฉบังไปยังท่าเรือในฮ่องกง (4-5 วัน) จากนั้นขนส่งทางรถยนต์ต่อไปยังเมืองเซินเจิ้นหรือนครกวางโจว (12 ชั่วโมง) แล้วค่อยกระจายสู่เมืองต่างๆ ของจีน ซึ่งรวมเวลาทั้งสิ้นประมาณ 10 วัน แต่การขนส่งสินค้าไทยสู่ภาคตะวันตกจีนโดยใช้เส้นทางบก R3E และเส้นทางด่วนในประเทศจีนจะใช้เวลาประมาณ 5-6 วัน”

                 การดำเนินธุรกิจนำเข้าและส่งออกกับมณฑลทางภาคตะวันตกของจีน ปัจจัยเรื่องระยะทางและต้นทุนค่าขนส่งเป็นประเด็นที่นักลงทุนไทยให้ความสำคัญเสมอมา เมื่อเทียบกับมณฑลทางภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงใต้แล้ว สินค้าไทยที่เข้าสู่มณฑลภาคตะวันตกเหล่านี้ยังมีปริมาณไม่มากนัก นอกจากนี้ การนำเข้าสินค้าไทยที่ผ่านมาส่วนใหญ่จะดำเนินการโดยผู้ประกอบการชาวจีนท้องถิ่นและผู้แทนจำหน่ายตามเมืองหลักในมณฑลชายฝั่งภาคตะวันออก ขณะที่ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในจีน ณ นครซีอานได้รับข้อมูลจากผู้ประกอบการชาวซีอานหลายรายว่า ประสงค์จะนำเข้าสินค้าไทยโดยตรงจากฝ่ายไทยมากกว่า โดยเฉพาะสินค้าสดที่เน้นเรื่องความรวดเร็วในการขนส่ง เช่น ผลไม้ ดอกไม้ และสัตว์น้ำมีชีวิต สินค้าจากไทยเหล่านี้ไม่เพียงแต่จะส่งจำหน่ายทั่วมณฑลส่านซีเท่านั้น แต่ยังอาจกระจายสู่มณฑลข้างเคียงได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย โดยเฉพาะมณฑลเหอหนาน เสฉวน กานซู และเขตหนิงเซี่ย เนื่องจากส่านซีเป็นหน้าด่านแห่งการขนส่งกระจายสินค้าจากทุกภาคของจีนสู่มณฑลทางภาคตะวันตกและภาคตะวันตกเฉียงเหนือจีน ข้อมูลดังกล่าวเป็นแรงดลใจทำให้ผู้เขียนศึกษาเพิ่มเติมและพบว่าส่านซีกำลังจะกลายเป็นศูนย์กลางการคมนาคมแห่งภูมิภาคตะวันตกของจีนภายในอนาคตอันใกล้
               ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในจีน ณ นครซีอานขอแบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ส่วน คือ 1) เส้นทางคมนาคมทางบกเชื่อมต่อกรุงเทพฯ สู่นครซีอานในมณฑลส่านซี และ 2) บทบาทศูนย์กลางโลจีสติกส์แห่งภูมิภาคตะวันตกจีน 

 

รู้จักมณฑลส่านซี
                  
มณฑลส่านซีตั้งอยู่ตอนกลางค่อนไปทางตะวันตกของจีน มีพื้นที่ 205,800 ตารางกิโลเมตร ประชากร 38 ล้านคน มีพรมแดนติอต่อกับ 8 มณฑล/เขต คือ เสฉวน เหอหนาน ซานซี หูเป่ย ฉงชิ่ง กานซู หนิงเซี่ย และมองโกเลียใน ยุทธศาสตร์ข้อได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ที่โดดเด่นและไม่เหมือนมณฑลใดนี้เองส่งผลให้ส่านซีเป็นศูนย์กลางการคมนาคมในภาคตะวันตกของจีนอย่างแท้จริง โดยเฉพาะนครซีอาน เมืองเอกศูนย์กลางสำคัญของมณฑลส่านซีที่รัฐบาลมณฑลได้วางบทบาทให้ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางระบบโลจีสติกส์ที่สำคัญที่สุดในภาคตะวันตกเฉียงเหนือและภาคตะวันตกของจีน สินค้าใดก็ตามที่เข้าถึงนครซีอานจะสามารถกระจายสู่ 8 มณฑลรอบข้าง 4 ทิศได้ภายในเวลา 1 วัน อีกทั้งขนส่งไปและกลับเมืองต่าง ๆ ในมณฑลได้ภายในวันเดียวกัน 
                อย่างไรก็ดี เนื่องจากลักษณะภูมิศาสตร์ของส่านซีมีความแตกต่างกันอย่างมาก ดังนั้นการสร้างเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงพื้นที่ให้ทั่วถึงทุกเมืองในมณฑล และเชื่อมต่อสู่ต่างมณฑลได้ภายในเวลารวดเร็วที่สุด จึงเป็นงานหลักและเป็นเป้าหมายสำคัญในการกระจายความเจริญของรัฐบาลมณฑล
                ส่านซีแบ่งส่วนการปกครองออกเป็น 11 เมือง/เขต ไล่ตามที่ตั้งทางภูมิศาสตร์จากเหนือลงใต้ได้ 3 เขต ดังนี้
                  1.) ภาคเหนือ เป็นที่ราบสูงดินเหลืองและเขตทะเลทราย ซึ่งอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน และเกลือ และเป็นที่ตั้งของเมืองหยูหลิน และเมืองเอี๋ยนอาน
                  2.) ภาคกลาง เป็นที่ราบกวานจง ซึ่งเป็นที่ราบลุ่มและมีแม่น้ำไหลผ่าน จึงเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุดในมณฑล และเป็นที่ตั้งของเมืองสำคัญทางเศรษฐกิจต่าง ๆ คือ นครซีอาน เสียนหยาง เว่ยหนาน เป่าจี ถงชวน และเขตอุตสาหกรรมไฮเทคทางการเกษตรหยางหลิง 
                  3.) ภาคใต้ เป็นแนวเทือกเขาฉินหลิ่ง (พรมแดนทางธรรมชาติที่ขีดแบ่งสาขาของแม่น้ำเหลืองและแยงซีเกียงออกจากกัน) และเขาปาซาน โดยพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นแนวเทือกเขาและเนินเขาสูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,000-2,000 เมตร อีกทั้งเป็นพื้นที่อยู่ระหว่างการพัฒนา และเป็นที่ตั้งของเมืองฮั่นจง อานคัง และซางลั่ว 

 

เส้นทางคมนาคมเชื่อมกรุงเทพฯ กับมณฑลส่านซีและภาคตะวันตกจีน
                 
ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในจีน ณ นครซีอานได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลการสำรวจเส้นทางบกจากกรุงเทพฯ   ถึงนครเฉิงตู มณฑลเสฉวนของสถานกงสุลใหญ่ ณ นครเฉิงตูเมื่อเดือนกันยายน 2551 และต่อยอดข้อมูลเพิ่มเติมจากนครเฉิงตูสู่นครซีอาน มณฑลส่านซี ซึ่งเป็นศูนย์กลางโลจีสติกส์ที่สำคัญที่สุดในภาคตะวันตกเฉียงเหนือและภาคตะวันตกจีน สรุปดังนี้


               เส้นทางบกจากกรุงเทพฯ – นครซีอาน เลือกใช้เส้นทาง R3E (เชื่อมต่อประเทศไทย-ลาว-จีน) ระยะทางประมาณ 3,342 กิโลเมตร รวมเวลาเดินทางโดยรถยนต์ประมาณ 45 ชั่วโมง โดยแบ่งเส้นทางออกเป็น 4 ช่วงดังนี้

1. เส้นทางจากกรุงเทพฯ - ชายแดนลาว รวมระยะทาง 1,119 กิโลเมตร ใช้เวลา 16 ชั่วโมง ดังนี้

 

2. เส้นทางภายในจีน เริ่มจากชายแดนจีนที่มณฑลยูนนานถึงเขตติดต่อมณฑลเสฉวนในแนวทิศใต้สู่ทิศเหนือรวมระยะทาง 1,213 กิโลเมตร ใช้เวลา 17 ชั่วโมง 30 นาที ดังนี้

 

3. เส้นทางภายในจีน เริ่มจากเขตติดต่อระหว่างมณฑลยูนนานกับเสฉวนถึงนครเฉิงตู รวมระยะทาง 350 กิโลเมตร ใช้เวลา 4 ชั่วโมง ดังนี้

 

4. เส้นทางภายในจีน เริ่มจากนครเฉิงตูถึงนครซีอาน โดยใช้เส้นทางหลวงระดับประเทศ GZ40 วิ่งผ่าน 3 เมืองในเสฉวน คือ นครเฉิงตู เมืองเหมียนหยาง เมืองกว่างหยวน และ 3 เมืองในมณฑลส่านซี คือ เมืองฮั่นจง เมืองอานคัง และสิ้นสุดที่นครซีอานรวมระยะทาง 660 กิโลเมตร ใช้เวลา 7 ชั่วโมง 30 นาที ดังนี้  

 

หมายเหตุ
                    1. เส้นทางหลวงระดับประเทศ GZ40 เป็น 1 ใน 5 เส้นทางหลวงระดับประเทศแนวเหนือใต้ที่สำคัญของจีน เริ่มต้นที่พรมแดนระหว่างประเทศมองโกล – จีน ในเมืองเออร์เหลียนเฮ้าเท่อ พาดผ่านเขตมอลโกเลียใน มณฑลซานซี ส่านซี เสฉวน และสิ้นสุดที่พรมแดนระหว่างประเทศจีน – เวียดนาม ในเมืองเหอโข่ว มณฑลยูนนาน ทั้งนี้ เป็นเส้นทางในมณฑลส่านซีรวมระยะทาง 649 กิโลเมตร
                    2. เส้นทางด่วนสาย “นครซีอาน – เมืองฮั่นจง” เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางหลวงระดับประเทศ GZ40 เริ่มต้นที่นครซีอาน พาดผ่านเมืองอานคัง (อำเภอหนิงส่าน) และเมืองฮั่นจง (อำเภอหยาง อำเภอโฝผิง อำเภอเฉิงกู้ อำเภอหนานเจิ้ง เขตฮั่นถาย อำเภอเหมี่ยน) ส่งผลช่วยลดเวลาการเดินทางจากซีอานสู่ฮั่นจงจากเดิม 6.7 ชั่วโมงเหลือเพียง 3 ชั่วโมง

               

เส้นทางด่วน “นครซีอาน – เมืองฮั่นจง” ช่วยลดเวลาการเดินทางจากซีอานถึงเฉิงตูเหลือเพียง 7 ชั่วโมงกว่า จากเดิมที่ต้องใช้เวลาเดินทางเกือบ 1 วัน

                 ที่ผ่านมา การขนส่งสินค้าไทยสู่ภาคตะวันตกจีน โดยเฉพาะนครซีอาน มักนิยมใช้เส้นทางขนส่งทางเรือจากท่าเรือแหลมฉบังไปยังท่าเรือในฮ่องกง (4-5 วัน) จากนั้นขนส่งทางรถยนต์ต่อไปยังเมืองเซินเจิ้นหรือนครกวางโจว (12 ชั่วโมง) แล้วค่อยกระจายสู่เมืองต่างๆ ของจีน ซึ่งรวมเวลาทั้งสิ้นประมาณ 10 วัน แต่การขนส่งสินค้าไทยสู่ภาคตะวันตกจีนโดยใช้เส้นทางบก R3E และเส้นทางด่วนในประเทศจีนข้างต้นจะใช้เวลาประมาณ 5-6 วัน ดังนั้น เส้นทาง R3E จากไทย ผ่านลาว เข้ามณฑลยูนนาน เสฉวน และส่านซี พร้อมกระจายสู่ภาคตะวันตกตอนในของจีนจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าจับตามองยิ่งนัก  
                ประเทศไทยซึ่งเป็นศูนย์กลางการคมนาคมและโลจีสติกส์ของอาเซียนได้ให้ความสำคัญและผลักดันการใช้ประโยชน์จากเส้นทางบกเชื่อมต่อระหว่างอาเซียนกับจีนเสมอมา และพร้อมจะผลักดันให้สินค้าไทยขนส่งเข้าสู่ภาคตะวันตกตอนในของจีนมากยิ่งขึ้น ไม่ใช่เพียงค้าขายผ่านเมืองสำคัญตามชายฝั่งตะวันออกจีน มณฑลยูนนานและกวางสีเช่นที่ผ่านมา โดยเฉพาะในส่วนของส่านซีซึ่งเป็นมณฑลตอนในที่ไม่มีทางออกติดทะเล แต่กลับเป็นมณฑลที่มีข้อได้เปรียบทางยุทธศาสตร์ดังกล่าวข้างต้น หากภาครัฐบาลและเอกชนไทยร่วมมือกันผลักดันให้สินค้าไทยเข้าเจาะตลาดเมืองหน้าด่านอย่างนครซีอานได้สำเร็จ และใช้ประโยชน์จากที่ตั้งของส่านซีเป็นยุทธสาสตร์สำคัญเพื่อกระจายสินค้าไทยสู่ดินแดนตอนในของจีน นั่นหมายถึงผลประโยชน์ในแง่ปริมาณและมูลค่าการค้ารวมที่ไทยจะได้รับ นอกจากนี้ การผลักดันให้ผู้ประกอบการไทยส่งออกสินค้าแก่ฝ่ายจีนในภาคตะวันตกโดยตรง อาจช่วยลดการผูกขาดจากตัวกลางชาวจีนได้ และแน่นอนว่าผลประโยชน์สูงสุดย่อมตกอยู่กับผู้ประกอบการไทยที่ปรับตัวและเล็งเห็นการณ์ไกลนั่นเอง

* โปรดติดตามตอนต่อไป * 

จัดทำโดย
ดุจเนตร อาจหาญศิริ
ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในจีน ณ นครซีอาน วันที่ 27 เม.ย. 2552

 

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ